สิวอักเสบ คืออะไร

สิวอักเสบ คือ ปัญหาผิวชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการอุดตันของรูขุมขนซึ่งมีการสะสมของน้ำมัน (ซีบัม) เซลล์ผิวที่ตายแล้ว และแบคทีเรีย ทำให้เกิดการอักเสบ บวม แดง และเจ็บบริเวณผิวหนัง

ตอนที่ 1 : สาเหตุหลักของการเกิดสิวอักเสบ

ตอนที่ 2 : วิธีป้องกันสิวอักเสบอย่างได้ผล

ตอนที่ 3 : วิธีรักษาสิวอักเสบทั้งพบแพทย์และรักษาเอง

ตอนที่ 4 : ปัญหาที่มาพร้อมสิวอักเสบและการดูแลหลังสิวหาย

ตอนที่ 5 : สรุป

สาเหตุหลักของการเกิด สิวอักเสบ

สิวอักเสบ
  1. การอุดตันของรูขุมขน
  • เกิดจากการสะสมของเซลล์ผิวที่ตายแล้ว น้ำมัน (Sebum) และสิ่งสกปรกที่ไม่ได้ถูกขจัดออก ทำให้รูขุมขนตีบตันและเกิดสิว
  1. เชื้อแบคทีเรีย Propionibacterium acnes
  • เป็นเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ตามผิวหนัง เมื่อรูขุมขนอุดตันจะทำให้เชื้อแบคทีเรียนี้เติบโตและทำให้เกิดการอักเสบ บวม แดง และเป็นหนอง
  1. ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง
  • โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่น รอบประจำเดือน ตั้งครรภ์ หรือช่วงที่มีความเครียด ส่งผลให้ต่อมไขมันทำงานมากขึ้น ทำให้เกิดสิวอักเสบง่าย
  1. การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะกับผิว
  • เครื่องสำอาง, ครีมกันแดด, สกินแคร์ที่มีส่วนผสมก่อให้เกิดการอุดตัน (Comedogenic) เป็นสาเหตุให้เกิดสิวอักเสบได้
  1. พฤติกรรมส่วนตัว
  • เช่น การสัมผัสหน้าบ่อย ๆ การบีบสิว การนอนดึก พักผ่อนไม่เพียงพอ รวมถึงการล้างหน้าไม่สะอาด
  1. อาหารบางชนิด
  • อาหารที่มีน้ำตาลสูง นมวัว อาหารมัน อาจกระตุ้นการทำงานของต่อมไขมัน และทำให้เกิดสิวอักเสบได้ในบางคน
  1. พันธุกรรม
  • ถ้าครอบครัวมีประวัติเป็นสิวรุนแรง มีโอกาสที่ลูกหลานจะมีแนวโน้มเป็นสิวอักเสบเช่นกันและปัญหานี้อาจจะลามมาถึงการเล่น หวยไว ไม่มีประสิทธิภาพอีกด้วย

วิธีป้องกัน สิวอักเสบ อย่างได้ผล

  1. รักษาความสะอาดของผิวหน้าเสมอ
  • ล้างหน้าวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ด้วยผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยน ไม่มีสารระคายเคือง
  • หลีกเลี่ยงการใช้สบู่แรงๆ หรือโฟมล้างหน้าที่มีเม็ดสครับขัดหน้า เพราะจะกระตุ้นการอักเสบ
  • ไม่จับหน้า ลูบหน้า หรือเกาหน้าบ่อยๆ เพื่อป้องกันการนำเชื้อโรคเข้าสู่ผิว
  1. เลือกใช้สกินแคร์และเครื่องสำอางที่เหมาะสม
  • เลือกผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่า “Non-comedogenic” หรือ “Oil-free” ลดโอกาสการอุดตันรูขุมขน
  • หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์ น้ำหอม หรือซิลิโคนสูง
  • อย่านอนหลับทั้งที่ยังแต่งหน้า
  1. ควบคุมความมันส่วนเกินบนผิวหน้า
  • ใช้กระดาษซับมันเมื่อรู้สึกว่าหน้ามัน แต่ห้ามถูแรง
  • หลีกเลี่ยงการใช้แป้งพัฟหรือรองพื้นหนา ๆ ที่อาจไปอุดตันรูขุมขน
  • ใช้โทนเนอร์ลดมันหลังล้างหน้าเพื่อกระชับรูขุมขน
  1. ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต
  • นอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน
  • ลดความเครียด ด้วยการออกกำลังกาย โยคะ หรือทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย
  • ดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว เพื่อช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย
  • เปลี่ยนปลอกหมอน ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัวบ่อยๆ เพื่อป้องกันเชื้อโรคสะสม
  1. หลีกเลี่ยงอาหารกระตุ้นสิว 
  • ลดการบริโภคของทอด ของมัน น้ำตาลสูง นมวัว หรืออาหารแปรรูป
  • เพิ่มผัก ผลไม้สด และธัญพืชในมื้ออาหาร เพื่อช่วยให้ผิวแข็งแรง
  1. ตรวจเช็คสุขภาพผิวกับแพทย์ผิวหนัง
  • หากเป็นสิวอักเสบรุนแรง ควรพบแพทย์เพื่อใช้ยาเฉพาะทาง เช่น ยาทา ยากิน หรือการทำเลเซอร์รักษาสิว
  • อย่าใช้ยารักษาสิวเองโดยไม่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพราะอาจทำให้สิวแย่ลง

วิธีรักษา สิวอักเสบ ทั้งพบแพทย์และรักษาเอง

สิวเกิดจากการที่รูขุมขนเกิดการอุดตันจากไขมันและเซลล์ผิวที่ตายแล้ว จากนั้นมีการติดเชื้อแบคทีเรีย P.acnes และเกิดการอักเสบขึ้น ทำให้เกิดตุ่มแดง บวม เจ็บปวด และอาจมีหนองอยู่ภายใน การรักษาสิวมีทั้งแบบที่สามารถดูแลตัวเองได้และแบบที่ต้องพบแพทย์ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสิว

การรักษา สิวอักเสบ ด้วยตนเอง (อักเสบน้อยถึงปานกลาง)

1.) ทำความสะอาดผิวหน้าอย่างอ่อนโยน

  • ใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยน: เลือกเจลล้างหน้าหรือโฟมล้างหน้าที่ไม่มีฟองมาก ไม่เป็นด่าง และไม่มีส่วนผสมของสบู่หรือสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง
  • ล้างหน้าวันละ 2 ครั้ง: เช้าและเย็น ไม่ควรล้างบ่อยเกินไปเพราะจะทำให้ผิวแห้งและอาจผลิตน้ำมันออกมามากขึ้น
  • ล้างหน้าด้วยน้ำอุณหภูมิปกติ: หลีกเลี่ยงน้ำร้อนจัดหรือเย็นจัด
  • ซับหน้าเบาๆ: ใช้ผ้าขนหนูสะอาดและนุ่มซับหน้าให้แห้ง ไม่ควรถูแรงๆ

 

2.) ใช้ผลิตภัณฑ์รักษาสิวเฉพาะจุด

  • Benzoyl Peroxide (BP): มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย P.acnes และช่วยลดการอุดตันของรูขุมขน มีความเข้มข้นตั้งแต่ 2.5%, 5% ถึง 10% ควรเริ่มจากความเข้มข้นต่ำสุดก่อน (2.5%) เพื่อลดการระคายเคือง ทาก่อนล้างหน้า 10-15 นาที แล้วล้างออก หรือทาทิ้งไว้แล้วแต่คำแนะนำ
  • Salicylic Acid (BHA): ช่วยละลายหัวสิว ลดการอุดตัน และมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ มักพบในรูปแบบเจลล้างหน้า โทนเนอร์ หรือยาแต้มสิว
  • ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ Tea Tree Oil หรือ Sulfur: มีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียและลดการอักเสบในระดับอ่อนๆ

 

3.) หลีกเลี่ยงการบีบ แกะ กดสิว

  • การบีบ แกะ สิวด้วยตัวเองอาจทำให้เชื้อแพร่กระจายไปทั่วหน้า สิวอักเสบแย่ลง และทิ้งรอยดำ รอยแดง หรือหลุมสิวถาวรได้

 

4.) บำรุงผิวให้ชุ่มชื้น

  • เลือกมอยเจอร์ไรเซอร์ที่เขียนว่า “Non-comedogenic” (ไม่อุดตันรูขุมขน) หรือ “Oil-free” (ปราศจากน้ำมัน) เพื่อช่วยเสริมสร้างเกราะป้องกันผิวให้แข็งแรง

 

5.) ดูแลสุขอนามัยส่วนตัว

    • เปลี่ยนปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดหน้า เป็นประจำ: อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เพื่อลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียและสิ่งสกปรก
    • ทำความสะอาดหน้าจอโทรศัพท์: เพราะเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรีย
    • สระผมเป็นประจำ: โดยเฉพาะผู้ที่มีผมมัน เพื่อไม่ให้ความมันจากผมมาสัมผัสใบหน้า
    • ล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสใบหน้า


6.) ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์: เน้นผัก ผลไม้ ลดอาหารรสจัด อาหารหวาน นม และผลิตภัณฑ์จากนมวัวบางชนิด อาจส่งผลต่อการเกิดสิวในบางคน
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ: อย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อคืน
  • จัดการความเครียด: หาเวลารผ่อนคลาย ทำกิจกรรมที่ชอบ เพราะความเครียดสามารถกระตุ้นการเกิดสิวได้
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ: ช่วยให้ผิวชุ่มชื้นและขับของเสีย ช่วยให้สมองแจ่มใสมีโอกาสทำกำไรใน หวยไว ได้ดี
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ: ช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น แต่ควรล้างหน้าทันทีหลังออกกำลังกาย

การรักษาสิวอักเสบโดยแพทย์ (อักเสบปานกลางถึงรุนแรง)

1.) ยาทา

  • ยาปฏิชีวนะ (Topical Antibiotics): เช่น Clindamycin หรือ Erythromycin ช่วยลดการอักเสบและฆ่าเชื้อแบคทีเรีย มักใช้ร่วมกับ Benzoyl Peroxide เพื่อลดการดื้อยา
  • ยาในกลุ่มเรตินอยด์ (Topical Retinoids): เช่น Adapalene, Tretinoin (Retin-A), Tazarotene ช่วยลดการอุดตันของรูขุมขน ลดการอักเสบ และช่วยผลัดเซลล์ผิว
  • Azelaic Acid: ช่วยลดการอักเสบ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และลดรอยแดง 

2.) ยารับประทาน 

  • ยาปฏิชีวนะ (Oral Antibiotics): เช่น Doxycycline, Minocycline, Erythromycin ใช้ในกรณีที่สิวอักเสบรุนแรงหรือเป็นบริเวณกว้าง ช่วยลดการอักเสบและจำนวนเชื้อแบคทีเรีย ควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพราะอาจมีผลข้างเคียงและปัญหาการดื้อยา
  • ยาฮอร์โมน (Hormonal Therapy): สำหรับผู้หญิงที่มีสิวสัมพันธ์กับฮอร์โมน เช่น ยาคุมกำเนิดบางชนิด หรือ Spironolactone
  • Isotretinoin (Roaccutane/Acnotin): เป็นยาที่ใช้รักษา สิวอักเสบรุนแรงมาก ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่นๆ ยาจะช่วยลดการทำงานของต่อมไขมันได้อย่างมาก ทำให้สิวลดลงอย่างถาวร แต่มีผลข้างเคียงหลายอย่างและต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดและตรวจเลือดเป็นระยะ

3.) หัตถการทางการแพทย์

  • การกดสิว (Comedone Extraction): ควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพื่อเอาหัวสิวอุดตันออกอย่างถูกวิธี ลดการอักเสบ และลดโอกาสเกิดแผลเป็น
  • การฉีดสิว (Intralesional Corticosteroid Injection): แพทย์จะฉีดสเตียรอยด์ในปริมาณน้อยๆ เข้าไปในสิวอักเสบเม็ดใหญ่ที่บวมแดงและเจ็บ เพื่อช่วยลดการอักเสบและทำให้สิวยุบตัวลงอย่างรวดเร็ว
  • การทำทรีทเม้นท์ (Facial Treatments): เช่น การมาส์กหน้า การผลักวิตามิน หรือทรีทเม้นท์ที่ช่วยลดการอักเสบและควบคุมความมัน
  • การทำเลเซอร์และแสงบำบัด:  IPL , PDL , Fractional Laser
  • การผลัดเซลล์ผิว (Chemical Peels): การใช้กรดอ่อนๆ ผลัดเซลล์ผิว ช่วยลดการอุดตันและรอยสิว

ปัญหาที่มาพร้อม สิวอักเสบ และการดูแลหลังสิวหาย

🔸 1. ปัญหาที่มักเกิดขึ้นหลังสิวอักเสบ

  • รอยแดง รอยดำ : รอยแดงเกิดจากหลอดเลือดฝอยใต้ผิวขยายตัวหลังการอักเสบ
  • หลุมสิว : เกิดจากการทำลายคอลลาเจนในชั้นผิวระหว่างการอักเสบรุนแรง
  • ผิวแห้ง ลอก หรือไวต่อแสง : มักเกิดหลังการใช้ยารักษาสิวหรือกรดผลไม้

 

🔸 2. วิธีดูแลผิวหลังสิวหาย

  • บำรุงด้วยมอยส์เจอไรเซอร์
  • ใช้ครีมลดรอยแดง รอยดำ
  • ทาครีมกันแดดทุกวัน
  • หลีกเลี่ยงการแกะสิวหรือเกาบริเวณสิวเก่า
  • พิจารณาการทำทรีตเมนต์เฉพาะ

 

🔸 3. พฤติกรรมสำคัญที่ควรทำต่อเนื่อง

  • ล้างหน้าเบาๆ ไม่ถูแรง
  • เปลี่ยนปลอกหมอนและผ้าเช็ดหน้าบ่อย
  • รับประทานผัก ผลไม้ และดื่มน้ำมาก ๆ
  • นอนหลับเพียงพอ เพื่อให้ผิวฟื้นฟูได้ดี

สรุป

เรื่องผิวหน้าไม่ใช่เรื่องเล็กๆที่จะมองข้ามได้ เพราะมันอาจจะเกิดผลที่ตามมาที่ใหญ่จนตัวเราเองไม่มีความมั่นใจในการออกไปใช้ชีวิตประจำวันและอีกอย่างสิวเม็ดใหญ่มันทำให้เราเจ็บและยากต่อการนอนอีกด้วยนะครับ